คู่มือภาษีสำหรับนักแปลฟรีแลนซ์ สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาษีสำหรับนักแปล

คู่มือภาษีสำหรับนักแปลฟรีแลนซ์ สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับภาษีสำหรับนักแปล

หลายคนอาจคิดว่าภาษีเป็นเรื่องยุ่งยาก ซับซ้อน โดยเฉพาะสายงานอิสระอย่างนักแปลฟรีแลนซ์ บางคนก็อาจจะกังวลกับการยื่นภาษี หรือแม้แต่บางคนก็อาจจะไม่ทราบมาก่อนเลยว่าเป็นนักแปลอิสระจะต้องยื่นภาษีด้วย บทความนี้จะช่วยแนะนำทุกเรื่องที่นักแปลฟรีแลนซ์ควรรู้เกี่ยวกับการยื่นภาษี เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักแปลฟรีแลนซ์ทุกคนที่จะยื่นภาษีอย่างถูกต้อง

นักแปลฟรีแลนต์จัดอยู่ในผู้เสียภาษีประเภทใด

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า นักแปลฟรีแลนซ์จัดอยู่ในผู้เสียภาษีประเภทใด เพื่อที่จะได้เข้าใจ และยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง เพราะอย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า ฟรีแลนซ์บางส่วนอาจจะไม่เข้าใจ และไม่รู้ว่าการทำงานอิสระจะต้องยื่นภาษีด้วย เพราะไม่ได้ขึ้นตรงกับหน่วยงานใด เพียงแค่รับจ้างแปลภาษาเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้ว "เงิน" หรือ "รายได้" ทั้งหมดถือเป็นเงินได้ที่จะต้องยื่นเสียภาษีทั้งสิ้น

นักแปลฟรีแลนซ์ จัดอยู่ใน ผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา โดยรายได้ที่ได้รับจะถือเป็น เงินได้ประเภทที่ 40(2) ตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทย ซึ่งหมายถึงเงินได้จากการรับจ้างทำงานที่ใช้ทักษะหรือความสามารถส่วนตัว เช่น การแปลเอกสาร การเขียนบทความ การออกแบบ เป็นต้น

เงินได้ประเภทที่ 40(2) คืออะไร?

เงินได้ประเภทที่ 40(2) เป็นหนึ่งในประเภทของเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทย หมวด เงินได้พึงประเมินจากการรับจ้างแรงงานหรือให้บริการส่วนบุคคล โดยระบุถึงรายได้ที่เกิดจากการให้บริการ หรือการรับจ้างที่ไม่ได้อยู่ในลักษณะของลูกจ้างประจำ (ไม่ใช่การจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานแบบทั่วไป เช่น ลูกจ้างบริษัท) หรือจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เงินที่ได้จากการรับจ้างทั่วไป เช่น ค่าแปลภาษา ค่าคอมมิชชัน

สิ่งที่นักแปลฟรีแลนซ์ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษี

สิ่งที่นักแปลฟรีแลนซ์ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษี

ในการยื่นภาษีนั้น นักแปลฟรีแลนซ์ควรเตรียมความพร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่น ลงบัญชีรายรับที่ได้จากการรับจ้างอย่างค่าแปลเอกสาร เป็นต้น เพื่อให้ทุกท่านได้เตรียมความพร้อม ทางเราลิสต์รายการสำคัญ ๆ ที่ต้องเตรียม ได้แก่

  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
    ในกรณีที่คุณได้ทำการแปลเอกสารให้กับลูกค้าที่เป็นองค์กร/บริษัท ผู้ว่าจ้างจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% จากรายได้และออกใบ 50 ทวิให้คุณ ซึ่งคุณจะต้องเก็บเอกสารเหล่านั้นไว้ให้ดี เพราะจะได้ใช้ยื่นภาษีนั่นเอง
  • รายการรายได้
    รวบรวมรายได้ที่คุณได้รับตลอดปีจากการแปลภาษา รวมถึงรายได้ที่ไม่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • หลักฐานค่าใช้จ่าย
    หากต้องการหักค่าใช้จ่ายตามจริง ซึ่งจะต้องมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ค่าซอฟต์แวร์แปลภาษา ค่าคอร์สเรียนเกี่ยวกับการแปล ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น ควรเก็บใบเสร็จไว้ด้วย
  • บัญชีรายรับ-รายจ่าย
    จัดทำบัญชีเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ โดยเฉพาะรายการที่มีการหัก ณ ที่จ่าย เพื่อที่จะได้กลับมาเช็กในภายหลังว่าคุณได้รับเอกสาร 50 ทวิ เรียบร้อยแล้วหรือยัง ซึ่งคุณสามารถเก็บเอกสารนี้ไว้เพื่อใช้เป็นเครดิตภาษีได้
ตารางอัตราภาษีเงินได้

ตารางอัตราภาษีเงินได้

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่า หากนักแปลฟรีแลนซ์ได้รับรายได้จากการจ้างแปลภาษาจะต้องเสียภาษีที่กี่เปอร์เซ็นต์ ลองเทียบจากตารางนี้ได้เลย

เงินได้สุทธิอัตราเสียภาษี
0 – 150,000 บาทได้รับการยกเว้น
150,001 – 300,000 บาท5%
300,001 – 500,000 บาท10%
500,001 – 750,000 บาท15%
750,001 – 1,000,000 บาท20%
1,000,001 – 2,000,000 บาท25%
2,000,001 – 5,000,000 บาท30%
5,000,000 บาทขึ้นไป35%

ตัวอย่างการคำนวณภาษีสำหรับนักแปลฟรีแลนซ์

สมมติว่านักแปลฟรีแลนซ์มีรายได้รวมทั้งปี 1,000,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้ 400,000 บาท คุณสามารถนำมาคำนวณได้ ดังนี้

  1. คำนวณเงินได้สุทธิ
    เงินได้สุทธิ = รายได้รวม - ค่าใช้จ่าย
    = 1,000,000 - 400,000
    = 600,000 บาท
  2. ตรวจสอบช่วงอัตราภาษี
    เงินได้สุทธิ 600,000 บาท อยู่ในช่วง 500,001 – 750,000 บาท ซึ่งเสียภาษีในอัตรา 15%
  3. คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย
    ภาษีที่ต้องชำระ = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
    = 600,000 x 15%
    = 90,000 บาท

ในกรณีนี้ นักแปลฟรีแลนซ์จะต้องชำระภาษีจำนวน 90,000 บาท โดยสามารถลดหย่อนเพิ่มเติมได้หากมีสิทธิลดหย่อน เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต หรือการลงทุนในกองทุน SSF/RMF เป็นต้น

หมายเหตุ: การคำนวณนี้เป็นเพียงตัวอย่าง อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์ลดหย่อนภาษีของคุณและใช้ข้อมูลที่อัปเดตจากกรมสรรพากรเพื่อความถูกต้อง

นักแปลฟรีแลนซ์ยื่นภาษีได้ที่ไหน?

นักแปลฟรีแลนซ์ยื่นภาษีได้ที่ไหน?

สำหรับช่องทางการยื่นภาษีนั้น สามารถยื่นได้หลายช่องทาง ดังนี้

  1. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่
  2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ของ กรมสรรพากร
  3. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax

คุณสามารถเลือกช่องทางการยื่นภาษีที่สะดวกที่สุดสำหรับคุณ แต่สิ่งสำคัญคือการยื่นภาษีให้ตรงตามเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการตามกำหนด อาจต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติม 1-2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความผิดที่เกิดขึ้น

วิธียื่นภาษีสำหรับนักแปลฟรีแลนซ์

นักแปลฟรีแลนซ์ สามารถยื่นเสียภาษี (ยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90) ตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. เข้าสู่ระบบของกรมสรรพากร (www.rd.go.th) <ยื่นแบบทุกประเภท <ยื่นแบบออนไลน์
  2. กรอกข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่าย โดยจะต้องใส่ข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และลดหย่อนภาษีให้ครบถ้วน
  3. ตรวจสอบและยื่นแบบ อย่าลืมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนกดยื่นแบบ

ในการยื่นภาษี ในแต่ละปีอาจมีการปรับเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ทุกท่านสามารถอ่านคู่มือการยื่นภาษีในเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ หรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เพื่อที่จะได้ยื่นแบบได้อย่างถูกต้อง

ตลาดแปลภาษา PASA24 พร้อมให้บริการ

สั่งงานง่าย ได้งานชัวร์ สนใจแปลภาษา คลิกเลย!

สั่งแปลภาษา

การยื่นภาษีอาจดูซับซ้อนในสายตาหลายคน โดยเฉพาะนักแปลฟรีแลนซ์ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการจ้างงานแบบทั่วไป แต่ในความเป็นจริง การยื่นภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของทุกคนที่มีรายได้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม แม้รายได้จะไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี คุณยังคงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพื่อเป็นการแสดงความโปร่งใสและปฏิบัติตามกฎหมาย

การวางแผนและเตรียมเอกสารล่วงหน้าช่วยลดความยุ่งยาก เช่น การเก็บหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) หรือการบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างเป็นระบบ นอกจากจะช่วยให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คุณใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อย่างเต็มที่ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสรรพากร

สั่งประเมินราคางานแปล ฟรี!

อัปโหลดเนื้อหา ● เลือกภาษาและบริการ ● กำหนดระยะเวลา ● รายละเอียดงานแปล ● เสร็จสิ้น

  1. อัปโหลดเนื้อหา
  2. เลือกภาษาและบริการ
  3. เลือกตัวเลือกการแปล
  4. เพิ่มข้อมูลเพิ่มเติม
  5. เสร็จสิ้น
อัปโหลดต้นฉบับ
อัปโหลดไฟล์ หรือพิมพ์ข้อความที่ต้องการแปลในระบบสั่งงาน
เลือกไฟล์งานที่ต้องการแปลภาษา รองรับไฟล์ทุกประเภท สามารถอัปโหลดได้มากกว่าหนึ่งไฟล์
อัปโหลดไฟล์ต้นฉบับ
การอัปโหลดไฟล์ หรือ แปลข้อความสั้น สามารถเลือกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
อัปโหลดไฟล์เพิ่มเติม
คุณสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการแปล หรือทําการคัดลอกจากช่องทางอื่นๆ
ขั้นตอน 1 จาก 4
เลือกบริการและภาษา
เลือกประเภทบริการ ภาษาต้นทางและภาษาปลายทาง
บริการ *
ภาษาต้นทาง *
ภาษาปลายทาง*
ขั้นตอน 2 จาก 4
กำหนดระยะเวลา
ระยะเวลาในการเปิดเสนอราคาและระยะเวลาที่ต้องการงานแปล
ระยะเวลาเปิดเสนอราคา *
คุณต้องการงานแปลภายในกี่วัน
หลังยืนยันการชําระค่าบริการ

ขั้นตอน 3 จาก 4
ความต้องการเพิ่มเติม
แจ้งรายละเอียดหรือความต้องการอื่น ๆ เพิ่มเติมให้นักแปลทราบ
แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม
ขั้นตอน 4 จาก 4
กำลังดำเนินการ