ปัญหาที่มักพบในการแปลภาษาญี่ปุ่นและวิธีแก้ JAM 6,124 แชร์ [if gte mso 10]>คลิกที่ลิ้งนี้ได้เลยครับ) วันนี้ผมขอมาต่อด้วยวิธีแก้จากประสบการณ์ตรงของผมไล่ทีละข้อนะครับ1) ตัวคันจิที่เป็นชื่อเฉพาะ, ชื่อคน, สถานที่ต่างๆซึ่งมีคำอ่านแบบพิเศษ (ซึ่งคนญี่ปุ่นบางคนยังอ่านไม่ได้) บางตัวมีคำอ่านที่หลากหลาย และไม่เคยผ่านตานักแปลเลยhttp://kanji.reader.bz/ เป็นเวปอย่างเป็นทางการที่มีฐานข้อมูลชื่อคน และมีวิธีอ่านให้ แต่ชื่อคนญี่ปุ่นบางคน เช่น 新穂(にいほ、にいぼ)、宏一(こういち、ひろかず)、賢人(けんじん、たかひと、たかじん、よしと、よしひと、よしじん、まさと、) นั้นมีวิธีอ่านหลายแบบ แนะนำให้ถามเจ้าตัว หรือ ขอให้เวปแปลภาษาถามมาให้ก่อนครับ เพราะผมเองก็แปลผิดอยู่บ่อยๆ2) การแปลจากภาษาไทย หรือ ภาษาอื่นๆ ให้เป็นภาษาญี่ปุ่นให้ได้อย่างถูกต้อง (ซึ่งต้องใช้ความรู้ภาษาญี่ปุ่นระดับสูง และประสบการณ์แขนงต่างๆ)3) การแปลสำนวนคำพังเพย หรือ คำประสมจากภาษาญี่ปุ่นให้เป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอื่นๆ (ซึ่งต้องเปิดหาตามเวปไซต์ภาษาญี่ปุ่นแบบเฉพาะทาง) และต้องอ่านบริบทนั้นๆเพื่อความเข้าใจที่ถ่องแท้ก่อนแปลhttp://www.j-campus.com/ เวปนี้รวบรวมคำพังเพยไว้อย่างครบถ้วน แปลเป็นไทย มีคำบรรยาย พร้อมรูป แถมเวลากด Refresh มันจะ Random คำพังเพยใหม่ๆ มาให้เราศึกษาเพิ่มเติมด้วยครับ4) การแปลประโยคที่ยาวๆ มีคำศัพท์เฉพาะทางที่เราไม่ถนัดเยอะๆ กว่าจะอ่านเข้าใจและตีความได้แต่ละย่อหน้าต้องใช้เวลานาน5) การแปลสัญญา หรือ เอกสารทางราชการ (อันนี้ต้องมีประสบการณ์ล้วนๆ ครับ ถึงจะแปลได้ออกมาดี)6) การแปลเอกสารที่ส่งมาเป็นไฟล์ PDF หรือ ภาพถ่าย บางทีก็มองเห็นตัวอักษรไม่ชัด (คันจิเวลาถูกแปลงเป็น PDF หรือ ถ่ายมามันจะกลายเป็นก้อนๆ ต้องจ้องสัดส่วนหรืออ่านประโยคเพื่อตีความ) แถมต้องสร้างเอกสารใหม่ให้เหมือนต้องฉบับ