เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสที่เรียกว่า “โรคฝีดาษลิง (Mpox - Monkeypox” ในช่วงปี 2023-2024 นี้ โดยเฉพาะพื้นที่ในแถบทวีฟแอฟริกา ซึ่งมีการแพร่ระบาดไปกว่า 100 ประเทศ ทางศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแอฟริกาจึงได้ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ แอดมินจึงได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงมาฝากกันค่ะ ว่าเกิดจากอะไร อันตรายมากไหม และจะป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร เพื่อเป็นการรู้เท่าทันโรค
โรคฝีดาษลิง เกิดจากอะไร?
โรคฝีดาษลิง เกิดจากไวรัสในกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) พบได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น ลิง หนู แต่สาเหตุที่เรียกว่าโรคฝีดาษลิงนั่นก็เพราะว่า จากรายงานพบโรคนี้ครั้งแรกจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการทดลองของลิง จึงเป็นที่มาของชื่อโรคนั่นเอง อย่างไรก็ตาม แม้โรคนี้จะพบได้ในสัตว์ แต่ก็สามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้เช่นกัน จากการสัมผัสกับของเหลวในร่างกาย เช่น ตุ่มหนอง ผื่น น้ำลาย หรือสิ่งของปนเปื้อนเชื้อของผู้ป่วย รวมถึงการหายใจในระยะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
อาการของโรคฝีดาษลิง
อาการของโรคฝีดาษลิง จะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 5-21 วัน ลักษณะอาการจะคล้ายกับไข้ทรพิษแต่รุนแรงน้อยกว่า ซึ่งมีอาการหลัก ๆ ที่จะแสดง ดังนี้
- มีไข้ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อ และมีอาการอ่อนเพลีย
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม
- ผื่นจะปรากฏหลังจากมีไข้ 1-3 วัน โดยเริ่มจากใบหน้าแล้วลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จากนั้นผื่นจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำและตุ่มหนองก่อนที่จะตกสะเก็ดและหลุดออกมา
- อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในผู้ป่วยบางรายคือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
- ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับแต่ละคน ในบางกรณีโดยเฉพาะในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการอาจรุนแรงกว่าปกติ
โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไร?
โรคฝีดาษลิง จะสามารถติดต่อได้ทั้งจากสัตว์สู่คน และคนสู่คน ซึ่งมีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อและแพร่เชื้อ ดังนี้
- การรับเชื้อ
- ความเสี่ยงสูงจากการสัมผัสใกล้ชิด ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการรับเชื้อฝีดาษลิงคือผู้ที่มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลที่ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังหรือผู้ที่รับยากดภูมิคุ้มกัน จะมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อและมีอาการรุนแรงกว่าผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
- ผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของฝีดาษลิง โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกากลางและตะวันตก เป็นปัจจัยเสี่ยงในการรับเชื้อ เนื่องจากเชื้อไวรัสยังคงมีการแพร่กระจายในพื้นที่เหล่านี้
- การแพร่เชื้อ
- การสัมผัสโดยตรง ฝีดาษลิงสามารถแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำ ผื่น หรือแผลของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก หรือของเหลวในร่างกายจากผู้ป่วยก็เป็นอีกหนึ่งทางที่เชื้อสามารถแพร่กระจายได้
- การสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ การสัมผัสสิ่งของที่ผู้ติดเชื้อใช้ เช่น เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว หรือเครื่องใช้ส่วนตัวที่มีเชื้ออยู่ อาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้
- การแพร่เชื้อผ่านการหายใจ แม้ว่าการแพร่เชื้อผ่านทางอากาศจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการสัมผัสโดยตรง แต่การหายใจใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อในระยะยาว เช่น การอยู่ร่วมในห้องเดียวกันเป็นเวลานาน ก็สามารถเป็นช่องทางในการแพร่เชื้อได้
การป้องกันโรคผีดาษลิง
การป้องกันการแพร่กระจายของฝีดาษลิงสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่น
- หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์
- สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งหากต้องไปในพื้นที่เสี่ยง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หรือสิ่งของปนเปื้อนของผู้ป่วย
- ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับแต่ละคน ในบางกรณีโดยเฉพาะในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการอาจรุนแรงกว่าปกติ
มีวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิงไหม?
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนโรคฝีดาษลิงโดยตรง แต่สามารถฉัดวัคซีนฝีดาษเพื่อป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ถึง 80-85% ซึ่งทางสภากชาดไทยได้ประกาศให้บริการวัคซีนโรคสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป หากมีความประสงค์ต้องการฉีดวัคซีนสามารถเข้ารับบริการได้ที่ ตึกราชูทิศ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย โดยมีการบริการฉีด 2 วิธี ดังนี้
- วิธีที่ 1 ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (ขนาดเต็มโดส 0.5 ML) ราคาเข็มละ 8,500 บาท ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 28 วัน
- วิธีที่ 2 ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (ครั้งละ 0.1 ML) ราคาจุดละ 2,200 บาท ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 28 วัน (ต้องมาพร้อมกัน 4 ท่าน)
วัน-เวลาเปิดทำการ
- วันจันทร์-วันศุกร์
- เวลา 08.30-12.00 น. (ปิดรับบัตรคิว เวลา 11.30 น.)
- เวลา 13.00-16.00 น. (ปิดรับบัตรคิว เวลา 16.00 น.)
- วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
- เวลา 08.30-12.00 น. (ปิดรับบัตรคิว เวลา 11.30 น.)li>
- วันอาทิตย์ ปิดทำการ
คำศัพท์น่ารู้ เกี่ยวกับ โรคฝีดาษลิง
หลังจากที่ได้ทราบข้อมูลของโรคฝีดาษลิงไปบ้างแล้ว เรามีดูคำศัพท์เกี่ยวกับ โรคฝีดาษลิง กันต่อเลยค่ะ สำหรับติดตามข่าวต่างประเทศ เพื่อที่จะได้เข้าใจ รู้เท่าทันโรคก่อนใคร
- Mpox (เอ็มพอกซ์) ฝีดาษลิง
- smallpox (สมอล พอกซ์) โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ
- transmission (แทรนซฺ มิส เชิน) การแพร่เชื้อ
- quarantine (ควอ เริน ทีน) การกักกัน
- symptomatic (ซิมพ์ ทะแมท ทิค) แสดงอาการ
- asymptomatic (เอซิมพ์ ทะแมท ทิค) ไม่แสดงอาการ
- infection (อินแฟค เชิน) การติดเชื้อ
- vaccine (แวค ซีน) วัคซีน
- outbreak (เอาท์ เบรค) การระบาดของโรค
- antiviral drugs (แอนทิไวรัส ดรักส์) ยาต้านไวรัส
แม้โรคฝีดาษลิงจะมีความน่ากลัว และอันตรายสำหรับผู้ป่วยบางราย แต่การรู้เท่าทันโรค เรียนรู้วิธีป้องกัน รู้ว่าโรคเกิดจากอะไร แสดงอาการอย่างไร มีวิธีการแพร่เชื้อและป้องกันจากตนเองและคนรอบข้างได้อย่างไรนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และอย่าลืมติดตามข่าวสารอยู่เสมอเพื่อให้ทันเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยนะคะ
นอกจากนี้การเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับโรคฝีดาษลิงยังช่วยให้เราสามารถติดตามข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างเข้าใจและทันเหตุการณ์ การมีความรู้ที่ถูกต้องและทันสมัยเกี่ยวกับโรคนี้จะช่วยให้เราป้องกันและดูแลสุขภาพของตัวเองและครอบครัวได้อย่างดีที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก