วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 ก.ค. 67 (วันอาสาฬหบูชา) และวันที่ 21 ก.ค. 67 (วันเข้าพรรษา) เป็นวันที่ชาวพุทธต่างก็รู้จักกันดี เพราะเราต่างก็ได้เรียนวิชาพระพุทธศาสนากันมาแล้วนั่นเองค่ะ แต่หากใครที่อาจหลงลืมไปแล้วว่าทั้งสองวันนี้มีความสำคัญอย่างไร เดี๋ยวแอดมินจะมาเล่าให้ฟังคร่าว ๆ ในบทความนี้นะคะ
ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (โดยในปีที่มีอธิกมาส หรือเดือน 8 สองครั้ง จะตรงกับเดือน 8 หลัง) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แก่ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จังหวัดพาราณสี ประเทศอินเดีย โดยพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับฟังธรรมเทศนาและบรรลุโสดาปัตติผล จึงถือเป็นวันเกิดของพระสงฆ์
กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชา
กิจกรรมที่ชาวพุทธจะปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชานั้น คือการทำบุญตักบาตร ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง หรือจะเป็นกับข้าว ผลไม้ ก็ได้ค่ะ หรือถวายสังฆทาน และการเวียนเทียน และการฟังธรรมเทศนาจากพระสงฆ์
ความสำคัญของวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เริ่มต้นการเข้าพรรษา หรือการอาศัยอยู่ในวัดเป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงฤดูฝน เพื่อปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปเหยียบย่ำพืชผลของชาวบ้าน
กิจกรรมในวันเข้าพรรษา
กิจกรรมที่เป็นจุดเด่นที่สุดของวันเข้าพรรษาคือ การถวายผ้าอาบน้ำฝน และเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้พระสงฆ์ จะเป็นการถวายสังฆทาน หรือเป็นชุดผ้าอาบน้ำฝนเลยก็ได้ค่ะ หากซื้อที่ร้านสังฆภัณฑ์ ทางร้านก็จะจัดเป็นชุดให้เรียบร้อยเลย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ เหมือนวันพระทั่วไป เช่น การฟังธรรมเทศนา การรักษาศีลและทำสมาธิ เป็นต้น
50 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
เมื่อได้รู้ความสำคัญเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาแล้ว ต่อไปมาดูคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวกับ วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา กันบ้างค่ะ แอดมินนำมาแบ่งปันกว่า 50 คำด้วยกัน ได้แก่
- Asanha Bucha Day (อาสาฬหบูชาเดย์) วันอาสาฬหบูชา
- Buddhist Lent Day (บุดดิสต์ เลนท์ เดย์) วันเข้าพรรษา
- Candle procession (แคนเดิล โพรเซสชั่น) ขบวนแห่เทียนพรรษา
- Buddha (บุดด้า) พระพุทธเจ้า
- Monk (มั้ง) พระสงฆ์
- Wheel of Dhamma (วีล ออฟ ดาร์ม่า) ธรรมจักร
- Dhamma (ธัมมา) ธรรมะ
- Meditation (เมดิเทชั่น) การทำสมาธิ
- Buddhist monk (บุดดิสต์ มั้ง) พระภิกษุสงฆ์
- Temple (เทมเพิล) วัด
- The Four noble Truths (เดอะ โฟร์ โนเบิล ทรูธส์) อริยสัจ 4
- Almshouse (อาล์มส เฮาส์) โรงทาน
- Give alms to monks (กิฟ อาล์มส ทู มั้ง) ตักบาตร
- Incense (อินเซนส์) ธูป
- Candle (แคนเดิล) เทียน
- Flowers (ฟลาวเวอร์ส) ดอกไม้
- Merit-making (เมริต-เมคกิ้ง) การทำบุญ
- Sangha (สังฆะ) คณะสงฆ์
- Buddhist teachings (บุดดิสต์ ทีชิงส์) คำสอนของพระพุทธเจ้า
- Precepts (พรีเซปส์) ศีล
- Rainy season (เรนนี ซีซัน) ฤดูฝน
- Pilgrimage (พิลกริมเมจ) การแสวงบุญ
- Vow (เวา) การปฏิญาณตน
- Ordination (ออร์ดิเนชั่น) การบวช
- Vinaya (วินัย) พระวินัย
- Triple Gem (ทริปเปิล เจม) พระรัตนตรัย
- Devotion (ดีโวชั่น) การอุทิศตน
- Bodhi tree (โบดี ทรี) ต้นโพธิ์
- Scriptures (สคริปเชอร์ส) พระไตรปิฎก
- Chanting (ชานทิง) การสวดมนต์ (ในส่วนนี้จะหมายถึงการสวดมนต์แบบมีจังหวะทำนอง แตกต่างจาก Pray ที่เป็นการสวดอธิษฐาน)
- Enlightenment (เอนไลเทินเมนท์) การตรัสรู้
- Mindfulness (มายด์ฟูลเนส) ความมีสติ
- Ceremony (เซเรโมนี) พิธี
- Sermon (เซอร์มอน) ธรรมเทศนา
- Buddhist holy day (บุดดิสต์ โฮลี เดย์) วันพระ
- Veneration (เวเนเรชั่น) การเคารพ
- Pindapata (พินดะพาตะ) การเดินบิณฑบาต
- Abbot (แอ็บบอท) เจ้าอาวาส
- Nirvana (เนอร์วานา) นิพพาน
- Blessing (เบลสซิ่ง) พร
- Receive blessing (รีลิสซ เบลสซิง) รับพร
- Release birds (รีลิสซ เบิร์ด) ปล่อยนก
- Release fish (รีลิสซ ฟิช) ปล่อยปลา
- Release turtle (รีลิสซ เทอเทิล) ปล่อยเตา
- Peace (พีซ) สันติภาพ
- Compassion (คอมแพชชั่น) ความเมตตา
- Virtue (เวอร์ทู) คุณธรรม
- Reverence (เรเวอเรนซ์) การเคารพ
- Cultural heritage (คัลเชอรัล เฮอริเทจ) มรดกทางวัฒนธรรม
- Charity (แชริตี) การกุศล
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ บทความน่ารู้ และคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ที่แอดมินได้นำมาฝากกันนั้นก็จะเป็นส่วนสำคัญคร่าว ๆ เท่านั้นเอง จริง ๆ แล้วหากใครที่ต้องการทราบประวัติความเป็นมาของวันสำคัญต่าง ๆ อย่างละเอียดก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งสะดวกกว่าเดิมมากเลยค่ะ บทความหน้าแอดมินจะหยิบยกเรื่องใดมานั้น ฝากติดตามด้วยนะคะ